ธ.ทรงบารมีล้นฟ้า แรงศรัทธาล้นแผ่นดิน พสกนิกรไทยทั่วถิ่น ขอองค์ภูมินทร์ ทรงพระเจริญ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556






 เครื่องดนตรีสำหรับการเล่นหนังตะลุง

 เครื่องดนตรีหนังตะลุงในอดีต มีความเรียบง่าย ชาวบ้านในท้องถิ่นประดิษฐ์ขึ้นได้เอง มี ทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง เป็นสำคัญ ส่วน ปี่ ซอ นั้นเกิดขึ้นภายหลัง จนต่อมาเมื่อมีความนิยมในการใช้ดนตรีไทยสากล หนังตะลุงบางคณะจึงนำเครื่องดนตรีใหม่ๆ เข้ามาเสริม เช่น กลองชุด กีตาร์ ออร์แกน  เป็นต้น แต่เครื่องดนตรีที่ถือเป็นเครื่องดนตรีหลักและสำคัญในการแสดง          หนังตะลุง มีดังต่อไปนี้

ทับ   หรือเรียกอีกอย่างว่า โทนชาตรี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้   มีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่ส่วนท้ายสั้นกว่า มีขนาดเล็กกว่า ทั้งสองลูกมีขนาดต่างกันเล็กน้อยทำให้เสียงอาจมีความแตกต่างกันด้วย ทับเป็นเครื่องประกอบจังหวะและทำนองของวงดนตรี      ผู้บรรเลงดนตรีชิ้นอื่นๆจะต้องคอยฟังจังหวะและทำนองของทับ เพื่อที่จะบรรเลงไปตามทำนองนั้น โดยหนังตะลุงจะใช้ทับ 2 ใบ ใบหนึ่งเสียงแหลม เรียกว่า หน่วยฉับ มีฐานะเป็นตัวยืน ส่วนอีกใบเสียงทุ้ม เรียกว่า หน่วยเทิง ใช้เป็นตัวเสริม



  ทับ   หรือเรียกอีกอย่างว่า โทนชาตรี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้   มีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่ส่วนท้ายสั้นกว่า มีขนาดเล็กกว่า ทั้งสองลูกมีขนาดต่างกันเล็กน้อยทำให้เสียงอาจมีความแตกต่างกันด้วย ทับเป็นเครื่องประกอบจังหวะและทำนองของวงดนตรี      ผู้บรรเลงดนตรีชิ้นอื่นๆจะต้องคอยฟังจังหวะและทำนองของทับ เพื่อที่จะบรรเลงไปตามทำนองนั้น โดยหนังตะลุงจะใช้ทับ 2 ใบ ใบหนึ่งเสียงแหลม เรียกว่า หน่วยฉับ มีฐานะเป็นตัวยืน ส่วนอีกใบเสียงทุ้ม เรียกว่า หน่วยเทิง ใช้เป็นตัวเสริม


โหม่ง  เป็นเครื่องกำกับการขับบทของนายหนัง มี 2 ใบ ร้อยเชือกแขวนไว้ในรางไม้ ห่างกันประมาณ 2 นิ้ว เรียกว่า "รางโหม่ง" ใบที่ใช้ตีเป็นเหล็กมีเสียงแหลมเรียกว่า "หน่วยจี้" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียกว่า"หน่วยทุ้ม" ในอดีตใช้โหม่งราง หรือเรียกอีกอย่างว่าโหม่งลูกฟาก ทำด้วยเหล็กที่อัดส่วนกลางให้เป็นปุ่มสำหรับตี ส่วนโหม่งจะหล่อด้วยทองสำริด รูปลักษณะเหมือนฆ้องวง ไม้ตีโหม่งใช้อันเดียว ปลายข้างหนึ่งพันด้วยผ้าหรือ สวมยาง ทำให้โหม่งมีเสียงนุ่มนวล และสึกหรอน้อยใช้ได้นาน

 กลอง  หรือบางแห่งเรียกว่า “กลองตุก” ใช้กลองขนาดเล็ก มีหนังหุ้มสองข้าง หน้ากลองมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 8-10 นิ้ว มีความยาวประมาณ 10-20 นิ้ว หัวและท้ายเล็กกว่าตรงกลางเล็กน้อย ใช้ไม้ตี 2 อัน
 ปี่ หนังตะลุงใช้ปี่นอกบรรเลงเพลงต่างๆ และถือว่าเพลงพัดชาเป็นเพลงครู ประกอบด้วยเพลงไทยเดิมอื่นๆ เช่น เพลงสาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ ชะนี-กันแสง พม่ารำขวาน พม่าแทงกบ ลาวดวงเดือน เป็นต้น และเพลงลูกทุ่งหลายเพลงโดยอาศัยทำนองเพลงไทยเดิม หรือบางคณะอาจจะใช้เล่นเพลงไทยสากลก็ได้

 ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะ ทำจากโลหะอย่างหนา มีรูปร่างคล้ายถ้วย ตรงกลางเจาะรูร้อยเชือกติดกันเป็นคู่ๆ ใช้ตีเข้าจังหวะกับโหม่ง






กรับ เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นไม้ 1 คู่ ใช้ตีขัดกับจังหวะโหม่ง แต่ในปัจจุบันใช้กรับเดี่ยว (กรับเดี่ยวทำด้วยไม้เนื้อแข็งลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือผืนผ้าแต่ขนาดเล็กกว่ากรับคู่ประมาณ 1/3ของกรับคู่ ขนาดพอที่จะใช้มือซ้ายจับได้พอดีเพื่อใช้เคาะจังหวะกับลังโหม่งทางด้านมุมซ้ายด้านบนแทน)


 โดยหลักแล้วคณะหนังตะลุงโดยทั่วไปจะใช้เครื่องดนตรีข้างต้นเป็นหลักในดารบรรเลงเพลง แต่บางคณะอาจจะนำเครื่องดนตรีอื่นๆมาเล่นประกอบตามความเหมาะสมอีก     เช่น ซอด้วง ซออู้ หรือเครื่องดนตรีสากลมาเล่นบรรเลงประกอบเพื่อให้ดนตรีมีความไพเราะยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น