ธ.ทรงบารมีล้นฟ้า แรงศรัทธาล้นแผ่นดิน พสกนิกรไทยทั่วถิ่น ขอองค์ภูมินทร์ ทรงพระเจริญ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


โรงหนังตะลุง ต้องยกเสา 4 เสา (ใช้ไม้ค้ำเพิ่มจากเสาได้) ขนาดโรงประมาณ 2.3 X 3 เมตร พื้นยกสูงเลยศีรษะผู้ใหญ่เล็กน้อย และให้ลาดต่ำไปข้างหน้านิดหน่อย หลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน กั้นด้านข้างและด้านหลังอย่างหยาบๆ ด้านหลังทำช่องประตูพาดบันไดขึ้นโรง ด้านหน้าใช้ผ้าขาวบางขึงเป็นจอ จอกว้างและยาวประมาณ 5 x 10 ฟุต ในโรงมีตะเกียงน้ำมันไขสัตว์หรือตะเกียงน้ำมันมะพร้าว หรือตะเกียงเจ้าพายุหรือดวงไฟแขวนไว้ใกล้จอสูงจากพื้นราว 1 ฟุตเศษและห่างจากจอราว 1 ศอก นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วยวางไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของโรง เพื่อไว้ปักพักรูปหนัง ประเภทรูปเบ็ดเตล็ด ส่วนบนเพดานโรงจะมีเชือกขึงไว้สำหรับแขวนรูปหนังประเภทรูปที่สำคัญซึ่งมีรูป พระ รูปนาง เป็นต้น 

สำหรับจอหนัง ทำด้วยผ้าขาว รูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1.8 x 2.3 เมตรทั้ง 4 ด้านมอบริมด้วยผ้าสี เช่น แดง น้ำเงิน ขนาดกว้าง 4 - 5 นิ้ว มีห่วงผ้าเรียกว่า หูรามเย็บไว้เป็นระยะโดยรอบ หูรามแต่ละอันจะผูกเชือกยาวประมาณ 2 ฟุต 5 นิ้ว เรียกว่า หนวดราม สำหรับผูกขึงไปประมาณ 1 ฟุตจะตีตะเข็บนัยว่าเป็นเส้นแบ่งแดนกับแดนมนุษย์ เวลาเชิดรูปมีเฉพาะรูปฤาษี เทวดา และรูปที่มีฤทธานุภาพเท่านั้นที่เชิดเลยเส้นนี้ได้ 


ขนบนิยมในการเล่นหนังตะลุง

เมื่อหนังตะลุงขึ้นโรงแสดงเรียบร้อยแล้ว มักจะมีขนบนิยมในการแสดงเป็นลำดับดังนี้
1. ทำพิธีเบิกโรง
2. เล่นเพลงโหมโรง
3. ออกลิงดำลิงขาวหรือลิงหัวค่ำ (ปัจจุบันไม่นิยม)
4. ออกรูปฤาษี
5. ออกรูปพระอิศวร
6. ออกรูปอภิปรายหน้าบท
7. ออกรูปบอกเรื่อง
8. ออกรูปเจ้าเมือง
9. ดำเนินเรื่องต่อไปตามเนื้อเรื่องจนสว่าง 

1. ทำพิธีเบิกโรง

เมื่อคณะหนังตะลุงไปถึงโรงแสดง จะนำอุปกรณ์ทุกชิ้นขึ้นทางหน้าโรงโดยส่งขึ้นไป ส่วนผู้แสดงนั้นขึ้นทางหลังโรง เมื่อทุกคนขึ้นบนโรงเรียบร้อยแล้ว นายหนังตะลุงจะเป็น ผู้ประเมินการโหมโรง โดยการตีกลอง เอาฤกษ์เอาชัยและกันจัญไร ต่อไปลูกคู่ก็บรรเลง เพลงเชิดเรียกว่าตั้งเครื่อง แล้วทำพิธีเบิกรูปออกจากแผงเก็บรูปจัดปักไว้เป็นระเบียบ รูป ใดที่ศักดิสิทธิ์ เช่น ฤาษี เทวดา หรือพระอิศวร ก็จะแขวนไว้ที่สูง แล้วก็ทำพิธีเบิกโรง ซึ่ง ในการเบิกโรงนั้น เจ้าของงานต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้ มีความแตกต่างไปบ้างแล้วแต่คณะ และโอกาสหรือลักษณะงานที่แสดง อุปกรณ์ดังกล่าว เช่น หมาก พลูเงิน เทียนไข เสื่อ หมอน น้ำมนต์ ซึ่งจำนวนของแต่ละอย่างนั้น จัดตามลักษณะของงานบางคณะก็เพิ่ม ดอกไม้ ข้าวสาร ด้ายดิบ ซึ่งปัจจุบันนี้ พิธีเบิกโรง มักไม่ค่อยนิยมทำกันเท่าไหร่ บางคนก็ ไม่ใช้เลย เพราะบางโอกาสบางงานก็ต้องแสดงติดต่อกันหลายๆ คืน อาจจะทำพิธีเบิก โรงคืนแรกแล้ว คืนต่อไปก็ไม่ต้องทำ

 2. เล่นเพลงโหมโรง

เมื่อทำพิธีเบิกโรงเสร็จแล้วลูกคู่ก็จะเล่นเพลงโหมโรง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ เพลงทับและ เพลงปี่ เพลงทับก็คือ ถือเอาจังหวะทำนองของเสียงทับเป็นหลัก ลีลาการตีทับจะแตกต่าง กันออกไป ส่วนเพลงปี่ก็ถือเอาเสียงปี่เป็นหลัก ส่วนมากเพลงปี่จะเป็นทำนองเพลงไทย เดิม เช่น เพลงพัดชา เพลงลาวกระแซ เพลงเขมรไทรโยค ฯลฯ
อันที่จริงหนังตะลุงสมัย ก่อนไม่มีปี่ แต่ภายหลังได้วิวัฒนาการขึ้น จึงนำปี่มาประกอบใน การเล่น มีเพลงปี่ประกอบเพื่อให้ไพเราะขึ้น ปัจจุบันนี้หนังทุกๆ คณะก็มีทั้งปี่ทั้งซอ

 3. การออกลิงหัวค่ำ

การออกลิงหัวค่ำเป็นที่นิยมของหนังตะลุงโบราณ ซึ่งก่อนจะออก ฤาษีต้องออกลิงหัวค่ำ ก่อน เดี๋ยวนี้ไม่นิยมกัน จะมีก็เฉพาะเล่นแก้บนเท่านั้น ซึ่งสมัยก่อนที่นิยมออกลิงหัวค่ำ นั้น ท่านอธิบายว่าได้แบบมาจากหนังใหญ่

 4. ออกรูปฤาษี

การออกรูปฤาษีเป็นแบบฉบับของหนังตะลุงทุกคณะจะขาดเสียมิได้ ซึ่งลักษณะการออก รูปฤาษีนั้น พอจะสรุปได้ดังนี้
รูปฤาษีออกครั้งแรกจะมีสีดำล้วนทั้งตัว ฤาษีรูปนี้ไม่ใช้แสดงประกอบในเรื่อง เป็นฤาษีที่ ศักดิ์สิทธิ์ดนตรีบรรเลงไปเรื่อยๆ

1. ออกล่อไม้เท้าวับๆ แวมๆ 3 ครั้ง แล้วกลับเข้าฉาก
2. เหาะผ่านจอด้านขวาไปซ้าย 1 ครั้ง ถอยเข้าฉาก
3. เดินย่างสามขุมอยู่ตรงกลางจอประมาณ 2-3 นาที เดินไปหน้าและถอยหลังสลับกัน เดินอย่างธรรมดา แล้วเดินช้าและเดินเร็ว
4. เหาะจากด้านขวาไปด้านซ้ายจากซ้ายไปขวาสลับกัน 3 ครั้ง แล้วปักรูปกลางจอ ดนตรี จะบรรเลงไปอีกประมาณ 1 นาที แล้วหยุด
5. ตั้ง นโม 3 จบ
6. ตั้ง สคเค กาเม จรูเป ศิริสิขรตาเฏ จนท ลิกเข วิมาเนทิเป เขดต รมมา จายนตุ เทวา ชลกลวิสเม ยกขคนธพพนรคาติฏฐนตาสนติเก ย มุนิวรวจน สาธโว เม สุณเนตุ
ธมมสสวนกาโล อยมกทนตา, ธมมสสวนกาโล อยมตทนตา ธมมสสวนกาโล อยุมราทนตา

5. ออกรูปพระอิศวร

ต่อจากออกรูปฤาษีก็เป็นการเชิดรูปพระอิศวร ซึ่งทรงโคอุสุภราช มีความสัมพันธ์กับการ เล่นหนังตะลุง การเชิดรูปพระอิศวรถือเป็นศิลปชั้นสูงของการเชิดหนังตะลุง นาย หนังตะลุงจะอวดฝีมือในการเชิดรูปพระอิศวรกันอย่างสุดฝีมือ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีลีลาการ เชิดไม่เหมือนกัน
ในการเชิดรูปพระอิศวร ก็จะมีดนตรีประกอบให้จังหวะไปเรื่อยๆ โดยทั่วไปจะใช้เพลง ใดก็แล้วแต่ความสามารถของนายปี่ บังคับตามจังหวะเพลง เมื่อเชิดเสร็จพระอิศวรก็จะ เหาะลงมาจากสวรรค์ แล้วปักรูปลงกลางจอ ดนตรีก็จะหยุด แล้วก็ตั้งนโมว่าคาถา ไหว้ เทวดา ในสวรรค์ต่างๆ คล้ายๆ กับฤาษี
ตัวอย่างคาถาพระอิศวร เช่น
"โอมนาคา ข้าจะไหว้พระบาทเจ้าทั้งสามองค์ 
พระอิศวรผู้ทรง พระยาโคอุสุภราชฤทธิรอน"
หยุดคาถาจบที่ 1 เชิดต่อแล้วหยุดว่าคาถาที่ 2
"เบื้องขวาข้าจะไหว้พระนารายณ์พระสี่กร ทรงครุฑระเหินจร 
พระชินรินทร์เรืองณรงค์"
เชิดต่อแล้วว่าคาถาตอนที่ 3, 4 เรื่อยไปสลับกับการเชิดจนจบ
การเชิดรูปพระอิศวรในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังนิยมใช้กันอยู่ แต่บางคณะก็ไม่เชิดเลย ออกรูปฤาษีอย่างเดียวแล้วออกอภิปรายหน้าบทเลยก็มี

 6. ออกรูปอภิปรายหน้าบท

การออกรูปอภิปรายหน้าบทหรือภาษาใต้เรียกสั้นๆ ว่า ออกปรายหน้าบท รูปปรายหน้า บทนี้จะเป็นรูปผู้ชายถือดอกบัว เป็นเสมือนตัวแทน นายหนังตะลุงออกมาเพื่อคาราวะผู้ ชมและทำการสักการะคุณ
นายหนังจะหยิบรูปขึ้นมาเสกคาถาแบบเบิกปากก่อน เพื่อให้ได้กำลังใจมีปฏิภาณดี ไหว พริบดี ปักรูปไว้ตรงหน้าก่อนยังไม่ออกก่อน นายหนังจะเริ่มกล่าวบทในจอก่อน 3-5 คำกลอน เป็นทำนองไหว้พระ พอจบทำนองไหว้พระลูกคู่จะเริ่มบรรเลงเพลงอีกครั้ง แล้วนายหนังจึงเริ่มออกรูปปรายหน้าบท นายหนังจะเดินรูปออกมากลางจอ แล้วยกมือ ทำความเคารพ 3 ครั้ง แล้วเดินเข้าฉากทางซ้ายมือ แล้วออกมาทางขวาใหม่ ยกมือไหว้อีก 3 ครั้ง แล้วหลบเข้าฉากทางซ้ายอีก หลังจากนั้นก็ออกมาทางขวาใหม่ คราวนี้ปักรูปไว้ กลางจอ โดยวางมือของรูปเหนือศีรษะ ปักรูปให้ก้ม หน้าลงเล็กน้อยคล้ายๆ นั่งก้มไหว้ แล้วดนตรีจะหยุด
นายหนังจะเริ่มพากย์บทด้วยเสียงต่ำๆ ใช้โหม่งลูกเสียงต่ำกับฉิ่งและทับให้จังหวะ กล่าว บทไหว้ไปเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้สิ่งต่างๆ ไหว้นายหนังที่เคารพ ไหว้ พระมหากษัตริย์ ไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์ พระอุปปัชฌาย์ พระคู่สวด ไหว้นักปราชญ์ ทางกลอน เช่น สุนทรภู่ ศรีปราชญ์ (ซึ่งจะขาดเสียมิได้) ไหว้ครูหนังแต่โบราณ ไหว้ เจ้าภาพและผู้อำนวยความสะดวกทั้งหลาย
ขณะที่ไหว้จบแต่ละอย่างนั้น จะขึ้นบทใหม่ จะมีจังหวะหยุดให้ดนตรีบรรเลงสลับ เพื่อ พักผ่อนไปในตัว เรื่อยๆ ไปจนจบ แล้วดนตรีทำเพลงเดิน ใช้รูปทำความเคารพ 3 ครั้ง แล้วเข้าฉากไป

 7. ออกรูปบอกเรื่อง

หลังจากออกรูปอภิปรายหน้าบทแล้ว นายหนังจะออกรูปบอกเรื่อง ขาใช้รูปตัวตลกถือรูปไอ้ขวัญเมือง เพื่อ บอก ผู้ชมว่า คืนนั้นจะแสดงเรื่องอะไรถ้าเป็นการแสดงต่อในคืนที่ 2 หรือ 3 ก็จะเล่าเรื่องย่อๆ เป็นการเท้าความเรื่องที่ได้แสดงมาแล้ว แล้วก็จะแสดงต่อ การบอกเรื่องนี้ใช้ภาษาท้อง ถิ่นโดยตลอด

 8. การออกรูปเจ้าเมือง

ตามธรรมเนียมการเล่นหนังตะลุงนั้น จะเปิดฉากหรือเริ่มเรื่องโดยการออกรูปเจ้าเมือง เมืองที่สำคัญที่สุดของเรื่องก่อน แล้วดำเนินเรื่องต่อไปหรือย้อนหลังตามแต่เนื้อเรื่อง แต่ จะไม่ออกรูปอื่นก่อนออกรูปเจ้าเมือง การออกรูปเจ้าเมืองในคืนแรกของการแสดงจะต้อง มีทั้งราชาและราชินีเสมอ
การออกรูปเจ้าเมือง ในตอนแรกนั้นจะต้องมีทั้งราชาและราชินีเสมอ นอกนั้นอาจจะมีตัว ประกอบอื่นๆ เช่น ขุนพล หรือแม่ทัพ นายกอง หรือเสนา ฯลฯ

 9. ดำเนินเรื่อง

หลังจากออกรูปเจ้าเมืองแล้ว จึงดำเนินเรื่องต่อไปตามโครงเรื่อง จะจับตอนใดรูปใด แล้วแต่ศิลปะการเล่าเรื่องของนายหนังตะลุงแต่ละคนจะผูกปมแก้ปมให้แก่ผู้ชมสนใจติด
ตามเรื่องต่อไปจนตลอดการแสดง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น