ธ.ทรงบารมีล้นฟ้า แรงศรัทธาล้นแผ่นดิน พสกนิกรไทยทั่วถิ่น ขอองค์ภูมินทร์ ทรงพระเจริญ

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

.


                                      หนังทวีศิลป์บางตะพง


        หนังทวีศิลป์ บางตะพง หรือ นายทวี ฤทธิวงศ์  เป้นบุตรคนที่ 5 ของนายช่วง ฤทธิวงศ์ ศิลปินเพลงบอก เป็นที่รุ้จักกันทั่วไปในนาม เพลงบอก"ช่วง หนองยาว ไสหมาก" ซึ่งเป็นอาจารย์ของ "เพลงบอกรอดโพจิญาโน"เกิดเมื่อวันพุธที่31 พฤษภาคม 2477 คุณย่าชื่อช่วย คุณปุ่ชื่อ อินทร์ หรือหมื่นอินทรบุรี หนังทวีศิลป์ เริ่มสนใจการแสดงหนังตะลุงมาตั้งแต่วัยเด็ก เป็นศิลปินที่เติบโตมาจากในโรง ของหนังล้อม สระกำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดง 2540 จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ หนังทวีศิลป์ได้ประกอบอาชีพศิลปินหนังตะลุงเมื่ออายุได้ 19 ปี ในปี2502 มีภรรยาคู่ชีวิตคือ นางเอื้อน ฤทธิวงศ์ มีบุตรธิดารวม7 คนชาย 5 คนหญิง2 คน ปัจจุบันได้ตั้งหลักฐานบ้านเรือนอยู่ที่ ต.โพธิเสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 
-ประวัติการศึกษา
        -ด้านวิชาการ หนังทวีศิลป์ได้ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่สี่ จากโรงเรียนวัดคงคาวดี อำเภอปากพนัง ต่อจากนั้นได้ไปศึกษาวิชากาพย์กลอนกับครูประภาส ภูมิสถิตย์ ที่วัดคงคาสวัสดิ์ อ.ปากพนัง หลังจากนั้นก็เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่อำเภอปากพนังโดยอาศัยใบบุญของพระครูนนท์จรรยาวัตต์ วัดนันทาราม 
        -ด้านวิชาชีพศิลปิน ได้เริ่มศึกษาวิชาชีพศิลปินอย่างจริงจัง โดยเริ่มศึกษาวิชาชีพเพลงบอกจากบิดา และเพลงรอด โพธิจิญาโน  จนว่ากล่าวเพลงบอกได้คล่องแคล่ว  ต่อจากนั้นได้เริ่มศึกษาวิชาชีพหนังตะลุงจากหนังล้อม สระกำ โดยเริ่มจากเป็นลูกคู่ (มือฉิ่ง) จนกระทั่งเป็นนายหนัง
        คืนแรกของการออกโรงแสดง หนังล้อม สระกำ และครูหมอหนัง (นายวุ่น อินนุพัฒน์) ครูหมอหนังได้หาฤกษ์ขึ้นโรงให้หนังทวีศิลป์แสดงที่วัดหรงบน(วัดพ่อท่านเขียว) อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำเดือน6 และ เป็นคืนที่เกิดจันทรุปราคา  ในเหตุการณ์นี้ในวงการศิลปินเชื่อกันว่าเป็นมงนิมิตที่ดี ศิลปินจะมีชื่อเสียงโด่งดังในกาลภายหน้า 

-ผลงาน
        ระยะเวลาเกินกึ่งศตวรรษที่ศิลปินหนังตะลุงผู้นี้ได้สร้างสรรผลงานการแสดงหนังตะลุงให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม เป็นหนังมืออาชีพที่มั่นคงถาวรสืบต่อมายาวนาน เป็นที่รู้จักกล่าวขานกันทั่วจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ชื่อเสียงที่ปรากฎเป็นรางวัลเกียรติยศที่แสดงถึงความสามารถทางด้านศิลปะการแสดงหนังตะลุงมากมายเช่น รางวัล "มงกุฎทองคำฝังเพชร" ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศจาการแข่งขันประชันโรงศิลปินหนังตะลุงทั่วภาคใต้ ณ.สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช  นอกจากการแสดงโรงเดียวและประชันโรงเหมือนศิลปินหนังตะลุงทั่วไปแล้วยังมีการแสดงหนังตะลุงประชันโรงทที่เรียกว่า "หนังพลังสอง" อีกลักษณะหนึ่งด้วย
กล่าวคือเป็นการแสดงแข่งประชันโรงที่โรงหนังโรงหนึ่งๆมีนายหนังถึง 2คน เล่นแสดงเรื่องเดียวกันในโรงเดียวกันลูกคู่และเครื่องดนตรีชุดเดียวกัน  โดยหนังทวีศิลป์ได้แสดงคู่กับ หนังเอิบน้อย ยอดขุนพล ผู้เป็นศิษย์เอก นิยายที่นำมาแสดง หนังพลังสอง ได้แก่เรื่อง "อ้ายราหูจอมสังหาร" การแสดงหนังพลังสองครั้งนี้ หนังทวีศิลป์ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นเงินสดสองแสนบาท มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้ในอีกมิติหนึ่งทีเดียว จากผลงานชั้นครูได้ยืนหยัดหนุนเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนานคือหลักประกันคุณภาพการยอมรับจากสังคมได้เป็นอย่างดีว่า 
หนังทวีศิลป์ มีความสำเร็จในชีวิตศิลปินหนังตะลุงได้เป็นอย่างดี นอกจากเป็นหนังตะลุงชั้นครูแล้วยังได้ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแสดงหนังตะลุงสืบต่อไปหลายคณะ ศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากหนังทวีศิลป์และได้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพหนังตะลุงมีหลายคณะเช่น
        หนังเอิบน้อย  ยอดขุนพล
        หนังสุวิทย์ ศ.ทวีศิลป์
        หนังโสภณ ศ.ทวีศิลป์
        หนังสถิตย์ ศ.ทวีศิลป์
        หนังสุรเชษฐ์ บันเทิงศิลป์
        หนังแหลมทอง ศ.ทวีศิลป์
        หนังอรุณ ศ.ทวีศิลป์
        หนังจรัล ศ.ทวีศิลป์
        หนังปรีชา ศ.ทวีศิลป์ (เพลงบอกปรีชา สุขจันทร์)
        หนังรุ่งโรจน์ ศ.ทวีศิลป์
        หนังถาวรศิลป์  ศ.ทวีศิลป์
        หนังสุรินทร์  ศ.ทวีศิลป์
                        ฯลฯ



        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น